วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557

แนวทางในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างนักเรียนหรือเยาวชน

แนวทางในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างนักเรียนหรือเยาวชน
 ๑ แนวทางแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง มีดังนี้ 
    ๑) เชื่อฟังคำสั่งสอนของครูอาจารย์ และคำสั่งสอนของพ่อแม่ ผู้ปกครอง 
    ๒) ฝึกตนเองให้รู้จักใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา หลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์ ความรู้สึกส่วนตัวในการแก้ปัญหา
     ๓) ไม่หยอกล้อกันรุนแรง หรือล้อเลียนกัน ไม่ทำร้ายจิตใจกันด้วยคำพูด หรือคำไม่สุภาพ 
    ๔.) เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อเสริมสัมพันธภาพที่ดีในหมู่คณะ และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น เล่นกีฬากับเพื่อน เข้าร่วมกิจกรรมอาสาสมัครเพื่อพัฒนาชุมชน 
    ๕.) เข้าร่วมกิจกรรมค่ายจริยธรรม ซึ่งโรงเรียนจัดขึ้นเพื่อกล่อมเกลาจิตใจ เพื่อฝึกตนเองให้เป็นคนที่มีสติ มีความอดทน รู้จักควบคุมอารมณ์ตนเอง 
    ๖.) ควรมีจิตสำนึกว่า ขณะนี้เรายังเป็นนักเรียน ต้องตั้งใจเรียน ไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องทะเลาะวิวาท 
    ๗.) ควรยืดหยุ่นต่อกัน ให้อภัยกัน พูดจากันด้วยเหตุผล หลีกเลี่ยงการมีเรื่องทะเลาะวิวาท ซึ่งอาจหลีกหนีจากสถานการณ์ขณะนั้นหรือไม่ตอบโต้ โดยให้ยึดหลักว่า “แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร” การไม่ตอบโต้นั้นถือว่าเราเอาชนะใจตนเองได้แล้ว 
    ๘.) ไม่ควรยึดถือศักดิ์ศรีของสถาบัน ด้วยการไปทะเลาะวิวาท แต่ควรเชิดชูและรักษาชื่อเสียงของสภาบันด้วยการประพฤติตนในทางที่ดี 
    ๙.) ยึดมั่นในหลักศาสนาที่ตนนับถือ เช่น ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ทำร้ายผู้อื่น ไม่ลักขโมย 
๒ แนวทางแก้ไขปัญหาโดยสังคม มีดังนี้ 
    ๑.) เจ้าหน้าที่ตำรวจควรช่วยดูแลนักเรียนที่จะทะเลาะวิวาทกัน โดยเฉพาะในบริเวณและช่วงเวลาที่ล่อแหลม 
    ๒.) รวมกลุ่มอาสาสมัครดูแลชุมชน ให้สามารถเข้าไปประนีประนอมความขัดแย้งของวัยรุ่นในชุมชนได้ 
    ๓.) ควรควบคุมสื่อในการเผยแพร่ภาพหรือเรื่องราวที่เกี่ยวกับความขัดแย้ง และนำไปสู่การกระทำที่รุนแรง 
    ๔) ส่งเสริมกระบวนการพัฒนาครอบครัว อบรมเลี้ยงดูและให้ความอบอุ่นแก่เด็ก สั่งสอนให้เป็นคนมีเหตุมีผล ซึ่งจะทำให้มีอุปนิสัยที่ดี ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอย่างปกติสุข 
    ๕) จัดกิจกรรมทางศาสนาอบรมคนในสังคมโดยเฉพาะวัยรุ่นให้มีจิตใจที่อ่อนโยน มีความเมตตาปรานีต่อผู้อื่น มีเหตุผลในการแก้ปัญหา 
     ๖) ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน มีความเอื้ออาทรต่อกัน ยึดมั่นในสามัคคีธรรม 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น